โคเออร์สนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดเก็บขยะมูลฝอยโดยมีชุมชนผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละเป็นฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขอนามัยของตนเอง
การจัดการขยะมูลฝอย เป็นการเก็บขยะจากชุมชน นำมาคัดแยกเอาส่วนที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ใหม่ ส่วนที่เหลือจะนำไปฝังกลบ หรือเผาทำลายด้วยเตาเผา
หลักการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การคัดแยกขยะ การจัดเก็บขยะ การกำจัดขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะ การบริหารจัดการขยะโดยชุมชน เป็นความร่วมมือและ ช่วยเหลือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำพื้นที่พักพิง ฯ ผู้นำชุมชน ทั้งฝ่ายผู้ลี้ภัยและหมู่บ้านไทย ครูในโรงเรียน วัด เป็นต้น
การเยี่ยมบ้านในโครงการบ้านรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมแนะนำการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อให้เข้าใจวิธีการลดขยะ และสิ่งที่ยังนำกลับมาใช้ได้
เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ โคเออร์และกลุ่มสิ่งแวดล้อมในชุมชนผู้ลี้ภัยตลอดจนอาสาสมัคร ได้ร่วมกันปรับสภาพภูมิทัศน์ของพื้นที่จัดการขยะ ด้วยการทำความสะอาดพื้นที่บริเวณโดยรอบ และจัดเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้เกิดภูมิทัศน์ที่งามตา
ต่อมา เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครชุมชนได้ร่วมกันจัดเกิบผักตบชวาซึ่งมีจำนวนมาก ออกจากบ่อบำบัดน้ำเสียซึ่งอยู่ในพื้นที่จัดการขยะ ซึ่งเจ้าหน้าที่เกษตรจะนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ลี้ภัยในโครงการเกษตรอินทรีย์ต่อไป
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอความร่วมมือให้ผู้ลี้ภัยช่วยกันเก็บขยะ ในลำห้วยลำคลองตลอดพื้นที่ โดยโซน A มีผู้ร่วมทำความสะอาด 150 คน โซน บี 200 คน โซน C 200 คน มีองค์กรเอกชนรวมถึงโคเออร์ให้ความร่วมมือด้วยในครั้งนี้ด้วยการสนับสนุน อาหารและน้ำดื่ม พร้อมถุงพลาสติกดำใส่ขยะ เป็นต้น
การบริหารจัดการขยะ และ การริเริ่มโครงการ “ธนาคารมุล ฝอย”กระทำร่วมกันระหว่างชุมชนผู้ลี้ภัยและหมู่บ้านไทยใกล้เคียง เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เป็นความร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำชุมชนผู้ลี้ภัย ผู้นำหมู่บ้านไทย ครูในโรงเรียน และ วัด
|